MapleStory - Snail

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

 

ประวัติความเป็นมาของหมากรุก


ประวัติความเป็นมาของหมากรุก


ผู้คนในแต่ละถิ่นแต่ละชาติ ต่างก็มีความเชื่อที่แตกต่างกันไปว่า หมากรุกเกิดที่นี่ ที่นั่น ที่โน่น ตามความคิ ดเห็นที่เล่าขานกันอยู่ในหมู่พวก เช่น เชื่อว่าเกิดในกรีก อินเดีย จีน โรมัน อียิปต์ บาบิโลน ยิว เปอร์เซีย อารเบียน ฯลฯ คนอังกฤษเชื่อว่าเกิดขึ้นที่เวลส์หรือไม่ก็ที่ไอริช คนบางกลุ่มปักใจเชื่อว่าคนโน้นคนนี้ประดิษฐ์ขึ้นก็มี เช่น กษัตริย์โซโลมอน นางมณโฑมเหสีทศกัณฐ์ และบ้างก็ว่า นักปราชญ์นักปกครองกรีก เช่น พารามีเดส หรือไม่ก็อริสโตเติลเป็นผู้คิดค้นขึ้น

ต่อเมื่อได้มีการศึกษาสอบค้นที่ค่อนข้างเป็นเรื่องเป็นราว มีเหตุมีผลในหลายสำนักหลายคน อย่างเช่น นา ยเอ็น. แบลนด์ ค้นพบว่าชาวเปอร์เซีย (ปัจจุบันคือ ชาวอิหร่านโบราณ เชื่อกันว่า คือชาวอารยะหรืออารยัน) เป็นผู้คิดการเล่นหมากรุกขึ้น แล้วแพร่เข้าไปในอินเดีย ครั้นถัดมาอีกยุคหนึ่ง คนเปอร์เซียลืมสิ่งประดิษฐ์ของบรรพบุรุษตนไปเสีย ชาวอินเดียจึงได้นำกลับเข้าไปเผยแพร่ในดินแดนต้นกำเนิดอีกครั้งหนึ่ง นายโธมัส ไฮเดอร์ (ปี พ.ศ. ๒๒๓๗) อธิบายว่า หมากรุกเกิดในอินเดีย แต่เขาไม่มีหลักฐานมากนัก จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๖ เซอร์วิ ลเลียม จอห์น นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเดีย และปากีสถานอย่างลุ่มลึกคนหนึ่ง ได้เขียนเรื่องความเป็นมาของหมากรุกว่า กีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นในอินเดียเดิมเรียกว่าจตุรงค์ หมายถึง กองทัพที่มีกองกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า ข้อเขียนของท่านเซอร์ผู้นี้ ส่วนใหญ่มีเนื้อหามาจากข้อความในคัมภีร์ภวิชยปุราณของอินเดีย ปุราณคตินี้อธิบายการเล่นว่า กร ะดานหมากรุกมี ๒๔ ตาอย่างในปัจจุบันนี้ แต่แบ่งตัวหมากรุกออกเป็น ๔ ชุด มีผู้เล่น ๔ คน แต่ละชุดประกอบด้วย ขุน ม้า เรือ โคน และเบี้ยอีก ๔ ตัว รวมเป็น ๘ ตัว ทั้ง ๔ ชัดจะมี ๒ สี คือ ใช้สีเหมือนกัน ๒ ชัด เพราะถือว่า เป็นฝ่ายเดียวกันหรือเป็นพันธมิตรกัน อยู่มุมตรงข้ามหรือมุมทแยง เวลาเล่นต้องคอยช่วยเหลือกัน ลักษณะการเดิน ขุนม้า เบี้ย เดินอย่างในปัจจุบัน ส่วนโคน (พลช้าง) เดินอย่างเรือ เรือเดินตาทแยงอย่างเม็ด แต่ให้ข้าม ตาใกล้เสียตาหนึ่ง คือ เดินในตาเฉียง ๒ ตา ที่เรียกกันว่าตาโป่งนั่นเอง เมื่อถึงตาฝ่ายไหนคนใดเป็นผู้เดิน ให้ทอดลูกบาศก์หรือลูกเต๋าแต่ละด้านมีเลข ๒, ๓, ๔ และ ๕ ถ้าทอดได้ ๕ แต้ม ต้องเดินขุนหรือเบี้ยตัวใดตัวหนึ่ง ถ้าทอดได้ ๔ แต้ม ต้องเดินโคน ๓ แต้ม เดินม้า ๒ แต้ม เดินเรือ หมุนเวียนกันไปจนจบการแข่งขัน (ตรงนี้น่าสงสัยว่า ถ้าฝ่ายที่กำลังจะเดินถูกรุกอยู่ จะต้องทอดลูกเต๋าตามกติกานี้หรือเดินขุน-ผู้เขียน) วิธีเล่นแบบนี้มีลักษณะข องการเดินเชื่อมสามัคคีที่ดี แต่ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรแทงข้างหลังกันเมื่อใด ก็คงไม่มีโอกาสขอเพียงแค่เสมอ และว่าการเล่นหมากรุกตามแบบอย่างเช่นนี้ เกิดขึ้นเมื่อราวๆ ๒,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล



ครั้นประมาณ พ.ศ. ๒๐๐ (ระยะเวลาใกล้เคียงกับรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) พระเจ้าแผ่นดินอินเดียพระองค์หนึ่ง มีความสามารถในการรบ ได้ปราบปรามแคว้นใหญ่น้อยในชมพูทวีปไว้ในขอบขัณฑสีมาจนหมดสิ้น ไม่มีฝ่ายตรงข้ามที่จะทำศึกต่อกรได้อีกต่อไป จึงเกิดความรำคาญหงุดหงิดพระทัยไม่มีความสุขตามประสาผู้กระหายสงครามจึงปรึกษามุขมนตรีผู้หนึ่งชื่อสัสสะว่า ทำอย่างไรจึงจะมีความสุข เพราะหาคู่ต่อสู้ในยุทธกีฬาไม่ไ ด้แล้ว มุขมนตรีสัสสะจึงคิดดัดแปลงจตุรงค์ซึ่งแพร่หลายอยู่ในขณะนั้น ให้เป็นเกมการรบแบบแผ่นกระดาษ โดยรวมกลุ่มพันธมิตรให้เหลือเพียงกลุ่มเดียวทั้ง ๒ ฝ่าย รวมตัวหมากรุกของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันจากเดิมกลุ่มละ ๘ ตัว ฝ่ายละ ๑๖ ตัว คือ ม้า ๒ โคน ๒ เรือ ๒ ขุน ๒ และเบี้ยอีก ๘ ตัว แต่ขุนฝ่ายเดียวกันจะมี ๒ ตัวไม่ได้ จึงลดลงเป็นมนตรีหรือเม็ดเสีย ๑ ตัว ตัดผู้เล่นเดิมฝ่ายละ ๒ คนให้เหลือเพียงคนเดียว ตั้งตัวหมากเรียงกันคนละ ฟากกระดาน (อย่างในปัจจุบันนี้) หมากรุกยุทธวิธีใหม่จึงเกิดขึ้น แล้วแพร่หลายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา

ผู้เขียนเรื่องราวหมากรุกอีกคนหนึ่งชื่อนายแอนทอน แวนเดอร์ลินเด (พ.ศ. ๒๔๑๗) อธิบายว่าเปอร์เซียรับการเล่นหมากรุกไปจากอินเดียและว่าหมากรุกเล่นกันอย่างกว้างขวางดาษดื่นในอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ลินเดเชื่อว่า ชาวพุทธเป็นผู้คิดการเล่นชนิดนี้ขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๒ โดยให้เหตุผลว่า การรบการเข่นฆ่ากันไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นการกระทำที่ชั่วร้ายผิดบาปตามหลักพุท ธศาสนา จึงมีผู้ประดิษฐ์หมากรุกขึ้น เพื่อทดแทนการทำสงครามเข่นฆ่ากัน

นายพอล แลงฟีลด์ ผู้เขียนเรื่องราวหมากรุ่นปัจจุบันผู้หนึ่งเชื่อว่า หมากรุกคือจตุรงค์ของอินเดีย ได้แพร่หลายเข้าไปในเปอร์เซียเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และชาวเปอร์เซียได้เรียกเพี้ยนเป็นจัดตรัง ต่อมาอาหรับยึดเปอร์เซียได้เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้นำหมากรุกเข้าไปเล่นในดินแดนของตนและเรียกว่า จัดตรันซ์ ซึ่งยังคงเรียกกันเช่นนี้อยู่แม้ในปัจจุบัน

จากหลายๆ ความเห็นที่พูดกันถึงต้นกำเนิดดังกล่าวแล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่าหมากรุกคงจะเกิดขึ้นในประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๓ แล้วแพร่ขยายเข้าไปในเปอร์เซียและอาหรับ ช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เพราะชาวอาหรับคนหนึ่งชื่อนายมะสุติ เขียนบันทึกเมื่อปี 
พ.ศ. ๑๔๙๓ ว่าการเล่นหมากรุก หรือที่ชาวอาหรับเรียกว่าจัดตรันซ์นั้น แพร่หลายก่อนเขาเกิดนานทีเดียวอาจเป็น ๒-๓ ศตวรรษ ซึ่งหมายถึง ว่ามีผู้เล่นหมากรุกกันแพร่หลายอยู่ในอาหรับแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี นับจากปัจจุบันนี้ หลังจากนั้นไม่นานก็แพร่เข้าสู่ยุโรปและที่อื่นๆทั่วทุกทวีป

นั่นคือความเป็นมาของหมากรุกที่คนทั่วโลกรู้จัก สำหรับไทยเรานั้น เนื่องจากไม่มีบันทึกหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวไว้ การสืบค้นประวัติจึงค่อนข้างยากสับสน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามืดมนเสียจนไม่เห็นหนทางใดๆ เอาเสียเลย

ไทยเราเริ่มเล่นหมากรุกกันมาแต่เมื่อใด เราคิดกันขึ้นเองหรือรับมาจากชาติใด เป็นข้อสงสัยที่ผู้เล่นและผู้สนใจกีฬาชนิดนี้ทั่วๆ ไปถามไถ่กันมานาน และยังหาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะขาดข้อมูลหลักฐานสนับสนุนที่มีน้ำหนักเพียงพอ คำตอบจึงมีอยู่หลากหลายตามความคิดและตรึกตรองกันเอาเอง โดยมีความเห็นแตกต่างกันเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามาจากอินเดีย และอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเรารับจากจีน

คนในแหลมทองหรือดินแดนที่เรียกว่า ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เริ่มมีความเป็นอยู่พ้นสภาพความเป็นคนป่า คนดง อยู่ถ้าเพิงผาหรือสภาพคนยุคหินรุ่นแรกๆ มาเป็นสังคมหมู่บ้าน ตั้งรกรากกันเป็นหมู่เป็นพวกก็เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีมานี้ เราค้นพบความเจริญของผู้อาวุโสเหล่านี้ที่จังหวัดอุดรธานี และอีกหลายจังหวัดบริเวณแอ่งหนองหาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จุดที่คนกลุ่มนี้อาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่นมั่นคง คือ ที่ตำ บลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ความศิวิไลซ์ของสังคมกึ่งป่ากึ่งนาครแห่งนี้ จึงเรียกกันว่าวัฒนธรรมบ้านเชียง 

เนื่องจากวัฒนธรรมนี้เกิดก่อนการเกิดเกมหมากรุก คนพวกนี้จึงไม่รู้จักหมากรุก หลังจากการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ในคราวนั้นแล้ว บรรพบุรุษกลุ่มนี้ก็ได้พัฒนาชีวิตมาเรื่อยๆ ในทุกด้าน จนถึงประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐ คนบ้านเชียงจึงเริ่มรับเอาศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม จากเพื่อนๆ บ้านทาง ทิศตะวันออก ซึ่งคนอินเดียนำเอามาเผยแพร่ไว้ สังคมจึงเริ่มเติบโตเป็นสังคมเมือง ซึ่งมีอยู่หลายแหล่งในท้องถิ่นอีสาน เช่นเดียวกับสังคมกลุ่มคนเล็กๆ ตามริมฝั่งทะเลไทย ก็เริ่มก่อตั้งเป็นกลุ่มใหญ่ อาศัยกันอยู่หนาแน่นเป็นบ้านเมืองขึ้น มีวัฒนธรรมที่ใช้สอยกันอยู่อย่างเด่นชัด เรียกว่า วัฒนธรรมหรืออารยธรรมทวารวดีซึ่งก็นำมาโดยชาวอินเดียเช่นเดียวกัน ทั้งสังคมวัฒนธรรมบ้านเชียงยุคหลัง หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรมก่อนขอมและทวารว ดีนี้ ยังไม่มีรายงานจากนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์โบราณว่าเคยพบร่องรอยการเล่นหมากรุก ซึ่งอาจมีการเล่นกันมาแล้ว แต่ยังไม่พบหลักฐาน หรือยังไม่มีการเล่นกีฬาชนิดนี้ในประเทศไทยในยุคนั้นก็ได้ แต่หมากรุกเกิดขึ้นแล้วในประเทศอินเดีย ในช่วงระยะเวลานี้ดังกล่าวแล้ว

จนกระทั่งครึ่งพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ประมาณปี พ.ศ. ๑๘๘๘-๑๙๑๑-๑๒) ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยใน
รัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย จึงเริ่มปราก ฏเค้าของหมากรุกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยข้อความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ ๓ หรือที่รู้จักกันในนามจารึกนครชุม กล่าวว่า ก่อนที่พระยาลิไทยจะเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ทรงศึกษาศิลปะศาสตร์หลายแขนงซึ่งล้วนแต่เป็นศาสตร์ หรือความรู้สำหรับผู้ที่จะปกครองบ้านเมืองทั้งสิ้น ในกระบวนศาสตร์ต่างๆ เหล่านั้นมีศาสตร์จตุรงค์อยู่ด้วย ดังความว่า “...เมืองอันใดก็รู้สิ้นอันรู้ศาสตร์...อ...อยูกต สกาจตุรงค์กระทำยนตร์ขี่ช้ าง...คล้องช้างเป็นพฤฒิบาศศาสตร์ก็...นับตวงถ้วยไซร้ยังมากกลา...” นับเป็นพยานหลักฐานเอกสารชิ้นแรกที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของหมากรุกไทยเรา และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙-๑๔ กรมศิลปากรได้ทำการปรับปรุงขุดแต่งและบูรณะโบราณสถาน เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เจ้าหน้าที่ได้ขุดพบตัวหมากรุกทำด้วยดินเผาเคลือบ มีทั้งสีขาวหม่น สีเขียวมะกอกและสีน้ำตาลแก่ ส่วนมากพบตามบริเวณอรัญญิก สถานที่อยู่อาศัยของพ ระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี และในระยะต่อมาไม่นาน คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ชาวล้านนาบ้านพี่เมืองน้องทางตอนเหนือของสุโขทัย ก็ได้ผลิตลูกหมากรุกเช่นเดียวกับช่างปั้นชาวสุโขทัย คือ ชุดหมากรุกเคลือบสีเขียวมะกอก สีขาวหม่น บางตัวเป็นลายสีดำปะปน ปัจจุบันเก็บอยู่ตามบ้านผู้สะสมเครื่องเคลือบโบราณของไทยหลายราย




เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องปั้นดินเผาโบราณรายหนึ่ง ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่บ้านผู้สะสมของเก่ารายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะรูปร่างคล้ายตัวหมากรุก เขาเชื่อว่าเป็นตัวหมากรุกที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นหลักฐานใหม่ที่ต้องสอบค้นกันต่อไป เพราะถ้าหากโบราณวัตถุ เครื่องเคลือบดังกล่าว เป็นลูกหมากรุกจริง ก็จะเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยในประเทศเราเล่นหมาก รุกกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ แล้ว เพราะแหล่งเตาเผาเครื่องเคลือบที่อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์นั้น ผลิตกันอยู่ในช่วงเวลานั้น ผู้ศึกษาสนใจเรื่องเครื่องถ้วยชามในอดีตบางคนเชื่อว่า เครื่องสังคโลก ผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยในระยะแรกๆ ของคนแคว้นสุโขทัยอาจรับกรรมวิธีขั้นตอนการผลิตไปจากที่นี่ หากไม่ได้นำติดตัวมาจากแหล่งอพยพเดิม (ผู้เขียนได้เห็นภาพถ่ายรูปหมากรุกดังกล่าวนี้ แต่เป็นภาพที่มองไม่ชัด เพราะเป็นภา พถ่ายนอกตู้เก็บวัตถุค่อนข้างไกล จึงไม่อาจยืนยันได้ว่าเป็นลูกหมากรุก และผลิตจากเตาบ้านกรวดหรือไม่ แต่เห็นว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรจะได้ศึกษาข้อเท็จจริง จึงนำมาเสนอไว้เพื่อผู้สนใจจะได้ช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบต่อไป) เหล่านี้เป็นข้อมูลทางโบราณวัตถุที่พบเป็นรูปธรรม มองเห็นได้ดี จับต้องได้ และพิสูจน์ได้ในวิถีแห่งหมากรุกไทย



จากข้อมูลพยานหลักฐานทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็พอมองเห็นหรือได้ร่องรอยว่า คนไทยเรานั้นเริ่มเล่นหมากรุกกันมาแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดย รับมาจากการเล่นเกมที่เรียกว่าจตุรงค์ ซึ่งถ้าไม่ได้รับมาจากอินเดียโดยตรง ก็คงจะผ่านมาทางศรีลังกาหรือประเทศพม่า เพื่อนบ้านที่นับถือพุทธศาสนานิกายหินยานด้วยกัน และผู้ที่นำจตุรงค์เข้ามาในแคว้นสุโขทัยนั้นน่าจะเป็นพระสงฆ์ อาจเป็นสงฆ์ไทยกลุ่มพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามนี ผู้จาริกไปศึกษาพระพุทธศาสนาเพิ่มเติมที่ลังกา และอินเดียใต้ ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือไม่ก็พระสงฆ์จากศรีลังกาหรือพม่า ที่เดินท างติดต่อไปมาหาสู่กับพระสงฆ์ไทยมาตั้งแต่ระยะต้นๆ สมัยสุโขทัย เพราะพระสงฆ์ที่เข้ามาในอาณาจักรนี้นั้น ไม่ได้สอนพุทธศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้สอนศิลปะศาสตร์ความรู้แขนงต่างๆ สำหรับผู้ปกครองบ้านเมือง อันมีศาสตร์ของจตุรงค์รวมอยู่ด้วย ดังเนื้อความในจารึกที่กล่าวถึง

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

0   ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Cancel Reply