MapleStory - Snail

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

 

ประวัติความเป็นมาของหมากรุก


ประวัติความเป็นมาของหมากรุก


ผู้คนในแต่ละถิ่นแต่ละชาติ ต่างก็มีความเชื่อที่แตกต่างกันไปว่า หมากรุกเกิดที่นี่ ที่นั่น ที่โน่น ตามความคิ ดเห็นที่เล่าขานกันอยู่ในหมู่พวก เช่น เชื่อว่าเกิดในกรีก อินเดีย จีน โรมัน อียิปต์ บาบิโลน ยิว เปอร์เซีย อารเบียน ฯลฯ คนอังกฤษเชื่อว่าเกิดขึ้นที่เวลส์หรือไม่ก็ที่ไอริช คนบางกลุ่มปักใจเชื่อว่าคนโน้นคนนี้ประดิษฐ์ขึ้นก็มี เช่น กษัตริย์โซโลมอน นางมณโฑมเหสีทศกัณฐ์ และบ้างก็ว่า นักปราชญ์นักปกครองกรีก เช่น พารามีเดส หรือไม่ก็อริสโตเติลเป็นผู้คิดค้นขึ้น

ต่อเมื่อได้มีการศึกษาสอบค้นที่ค่อนข้างเป็นเรื่องเป็นราว มีเหตุมีผลในหลายสำนักหลายคน อย่างเช่น นา ยเอ็น. แบลนด์ ค้นพบว่าชาวเปอร์เซีย (ปัจจุบันคือ ชาวอิหร่านโบราณ เชื่อกันว่า คือชาวอารยะหรืออารยัน) เป็นผู้คิดการเล่นหมากรุกขึ้น แล้วแพร่เข้าไปในอินเดีย ครั้นถัดมาอีกยุคหนึ่ง คนเปอร์เซียลืมสิ่งประดิษฐ์ของบรรพบุรุษตนไปเสีย ชาวอินเดียจึงได้นำกลับเข้าไปเผยแพร่ในดินแดนต้นกำเนิดอีกครั้งหนึ่ง นายโธมัส ไฮเดอร์ (ปี พ.ศ. ๒๒๓๗) อธิบายว่า หมากรุกเกิดในอินเดีย แต่เขาไม่มีหลักฐานมากนัก จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๖ เซอร์วิ ลเลียม จอห์น นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเดีย และปากีสถานอย่างลุ่มลึกคนหนึ่ง ได้เขียนเรื่องความเป็นมาของหมากรุกว่า กีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นในอินเดียเดิมเรียกว่าจตุรงค์ หมายถึง กองทัพที่มีกองกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า ข้อเขียนของท่านเซอร์ผู้นี้ ส่วนใหญ่มีเนื้อหามาจากข้อความในคัมภีร์ภวิชยปุราณของอินเดีย ปุราณคตินี้อธิบายการเล่นว่า กร ะดานหมากรุกมี ๒๔ ตาอย่างในปัจจุบันนี้ แต่แบ่งตัวหมากรุกออกเป็น ๔ ชุด มีผู้เล่น ๔ คน แต่ละชุดประกอบด้วย ขุน ม้า เรือ โคน และเบี้ยอีก ๔ ตัว รวมเป็น ๘ ตัว ทั้ง ๔ ชัดจะมี ๒ สี คือ ใช้สีเหมือนกัน ๒ ชัด เพราะถือว่า เป็นฝ่ายเดียวกันหรือเป็นพันธมิตรกัน อยู่มุมตรงข้ามหรือมุมทแยง เวลาเล่นต้องคอยช่วยเหลือกัน ลักษณะการเดิน ขุนม้า เบี้ย เดินอย่างในปัจจุบัน ส่วนโคน (พลช้าง) เดินอย่างเรือ เรือเดินตาทแยงอย่างเม็ด แต่ให้ข้าม ตาใกล้เสียตาหนึ่ง คือ เดินในตาเฉียง ๒ ตา ที่เรียกกันว่าตาโป่งนั่นเอง เมื่อถึงตาฝ่ายไหนคนใดเป็นผู้เดิน ให้ทอดลูกบาศก์หรือลูกเต๋าแต่ละด้านมีเลข ๒, ๓, ๔ และ ๕ ถ้าทอดได้ ๕ แต้ม ต้องเดินขุนหรือเบี้ยตัวใดตัวหนึ่ง ถ้าทอดได้ ๔ แต้ม ต้องเดินโคน ๓ แต้ม เดินม้า ๒ แต้ม เดินเรือ หมุนเวียนกันไปจนจบการแข่งขัน (ตรงนี้น่าสงสัยว่า ถ้าฝ่ายที่กำลังจะเดินถูกรุกอยู่ จะต้องทอดลูกเต๋าตามกติกานี้หรือเดินขุน-ผู้เขียน) วิธีเล่นแบบนี้มีลักษณะข องการเดินเชื่อมสามัคคีที่ดี แต่ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรแทงข้างหลังกันเมื่อใด ก็คงไม่มีโอกาสขอเพียงแค่เสมอ และว่าการเล่นหมากรุกตามแบบอย่างเช่นนี้ เกิดขึ้นเมื่อราวๆ ๒,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล



ครั้นประมาณ พ.ศ. ๒๐๐ (ระยะเวลาใกล้เคียงกับรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) พระเจ้าแผ่นดินอินเดียพระองค์หนึ่ง มีความสามารถในการรบ ได้ปราบปรามแคว้นใหญ่น้อยในชมพูทวีปไว้ในขอบขัณฑสีมาจนหมดสิ้น ไม่มีฝ่ายตรงข้ามที่จะทำศึกต่อกรได้อีกต่อไป จึงเกิดความรำคาญหงุดหงิดพระทัยไม่มีความสุขตามประสาผู้กระหายสงครามจึงปรึกษามุขมนตรีผู้หนึ่งชื่อสัสสะว่า ทำอย่างไรจึงจะมีความสุข เพราะหาคู่ต่อสู้ในยุทธกีฬาไม่ไ ด้แล้ว มุขมนตรีสัสสะจึงคิดดัดแปลงจตุรงค์ซึ่งแพร่หลายอยู่ในขณะนั้น ให้เป็นเกมการรบแบบแผ่นกระดาษ โดยรวมกลุ่มพันธมิตรให้เหลือเพียงกลุ่มเดียวทั้ง ๒ ฝ่าย รวมตัวหมากรุกของแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันจากเดิมกลุ่มละ ๘ ตัว ฝ่ายละ ๑๖ ตัว คือ ม้า ๒ โคน ๒ เรือ ๒ ขุน ๒ และเบี้ยอีก ๘ ตัว แต่ขุนฝ่ายเดียวกันจะมี ๒ ตัวไม่ได้ จึงลดลงเป็นมนตรีหรือเม็ดเสีย ๑ ตัว ตัดผู้เล่นเดิมฝ่ายละ ๒ คนให้เหลือเพียงคนเดียว ตั้งตัวหมากเรียงกันคนละ ฟากกระดาน (อย่างในปัจจุบันนี้) หมากรุกยุทธวิธีใหม่จึงเกิดขึ้น แล้วแพร่หลายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา

ผู้เขียนเรื่องราวหมากรุกอีกคนหนึ่งชื่อนายแอนทอน แวนเดอร์ลินเด (พ.ศ. ๒๔๑๗) อธิบายว่าเปอร์เซียรับการเล่นหมากรุกไปจากอินเดียและว่าหมากรุกเล่นกันอย่างกว้างขวางดาษดื่นในอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ลินเดเชื่อว่า ชาวพุทธเป็นผู้คิดการเล่นชนิดนี้ขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๒ โดยให้เหตุผลว่า การรบการเข่นฆ่ากันไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นการกระทำที่ชั่วร้ายผิดบาปตามหลักพุท ธศาสนา จึงมีผู้ประดิษฐ์หมากรุกขึ้น เพื่อทดแทนการทำสงครามเข่นฆ่ากัน

นายพอล แลงฟีลด์ ผู้เขียนเรื่องราวหมากรุ่นปัจจุบันผู้หนึ่งเชื่อว่า หมากรุกคือจตุรงค์ของอินเดีย ได้แพร่หลายเข้าไปในเปอร์เซียเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และชาวเปอร์เซียได้เรียกเพี้ยนเป็นจัดตรัง ต่อมาอาหรับยึดเปอร์เซียได้เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้นำหมากรุกเข้าไปเล่นในดินแดนของตนและเรียกว่า จัดตรันซ์ ซึ่งยังคงเรียกกันเช่นนี้อยู่แม้ในปัจจุบัน

จากหลายๆ ความเห็นที่พูดกันถึงต้นกำเนิดดังกล่าวแล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่าหมากรุกคงจะเกิดขึ้นในประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๓ แล้วแพร่ขยายเข้าไปในเปอร์เซียและอาหรับ ช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เพราะชาวอาหรับคนหนึ่งชื่อนายมะสุติ เขียนบันทึกเมื่อปี 
พ.ศ. ๑๔๙๓ ว่าการเล่นหมากรุก หรือที่ชาวอาหรับเรียกว่าจัดตรันซ์นั้น แพร่หลายก่อนเขาเกิดนานทีเดียวอาจเป็น ๒-๓ ศตวรรษ ซึ่งหมายถึง ว่ามีผู้เล่นหมากรุกกันแพร่หลายอยู่ในอาหรับแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี นับจากปัจจุบันนี้ หลังจากนั้นไม่นานก็แพร่เข้าสู่ยุโรปและที่อื่นๆทั่วทุกทวีป

นั่นคือความเป็นมาของหมากรุกที่คนทั่วโลกรู้จัก สำหรับไทยเรานั้น เนื่องจากไม่มีบันทึกหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวไว้ การสืบค้นประวัติจึงค่อนข้างยากสับสน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามืดมนเสียจนไม่เห็นหนทางใดๆ เอาเสียเลย

ไทยเราเริ่มเล่นหมากรุกกันมาแต่เมื่อใด เราคิดกันขึ้นเองหรือรับมาจากชาติใด เป็นข้อสงสัยที่ผู้เล่นและผู้สนใจกีฬาชนิดนี้ทั่วๆ ไปถามไถ่กันมานาน และยังหาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะขาดข้อมูลหลักฐานสนับสนุนที่มีน้ำหนักเพียงพอ คำตอบจึงมีอยู่หลากหลายตามความคิดและตรึกตรองกันเอาเอง โดยมีความเห็นแตกต่างกันเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามาจากอินเดีย และอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเรารับจากจีน

คนในแหลมทองหรือดินแดนที่เรียกว่า ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เริ่มมีความเป็นอยู่พ้นสภาพความเป็นคนป่า คนดง อยู่ถ้าเพิงผาหรือสภาพคนยุคหินรุ่นแรกๆ มาเป็นสังคมหมู่บ้าน ตั้งรกรากกันเป็นหมู่เป็นพวกก็เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีมานี้ เราค้นพบความเจริญของผู้อาวุโสเหล่านี้ที่จังหวัดอุดรธานี และอีกหลายจังหวัดบริเวณแอ่งหนองหาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จุดที่คนกลุ่มนี้อาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่นมั่นคง คือ ที่ตำ บลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ความศิวิไลซ์ของสังคมกึ่งป่ากึ่งนาครแห่งนี้ จึงเรียกกันว่าวัฒนธรรมบ้านเชียง 

เนื่องจากวัฒนธรรมนี้เกิดก่อนการเกิดเกมหมากรุก คนพวกนี้จึงไม่รู้จักหมากรุก หลังจากการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ในคราวนั้นแล้ว บรรพบุรุษกลุ่มนี้ก็ได้พัฒนาชีวิตมาเรื่อยๆ ในทุกด้าน จนถึงประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐ คนบ้านเชียงจึงเริ่มรับเอาศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม จากเพื่อนๆ บ้านทาง ทิศตะวันออก ซึ่งคนอินเดียนำเอามาเผยแพร่ไว้ สังคมจึงเริ่มเติบโตเป็นสังคมเมือง ซึ่งมีอยู่หลายแหล่งในท้องถิ่นอีสาน เช่นเดียวกับสังคมกลุ่มคนเล็กๆ ตามริมฝั่งทะเลไทย ก็เริ่มก่อตั้งเป็นกลุ่มใหญ่ อาศัยกันอยู่หนาแน่นเป็นบ้านเมืองขึ้น มีวัฒนธรรมที่ใช้สอยกันอยู่อย่างเด่นชัด เรียกว่า วัฒนธรรมหรืออารยธรรมทวารวดีซึ่งก็นำมาโดยชาวอินเดียเช่นเดียวกัน ทั้งสังคมวัฒนธรรมบ้านเชียงยุคหลัง หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรมก่อนขอมและทวารว ดีนี้ ยังไม่มีรายงานจากนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์โบราณว่าเคยพบร่องรอยการเล่นหมากรุก ซึ่งอาจมีการเล่นกันมาแล้ว แต่ยังไม่พบหลักฐาน หรือยังไม่มีการเล่นกีฬาชนิดนี้ในประเทศไทยในยุคนั้นก็ได้ แต่หมากรุกเกิดขึ้นแล้วในประเทศอินเดีย ในช่วงระยะเวลานี้ดังกล่าวแล้ว

จนกระทั่งครึ่งพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ประมาณปี พ.ศ. ๑๘๘๘-๑๙๑๑-๑๒) ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยใน
รัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย จึงเริ่มปราก ฏเค้าของหมากรุกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยข้อความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ ๓ หรือที่รู้จักกันในนามจารึกนครชุม กล่าวว่า ก่อนที่พระยาลิไทยจะเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ทรงศึกษาศิลปะศาสตร์หลายแขนงซึ่งล้วนแต่เป็นศาสตร์ หรือความรู้สำหรับผู้ที่จะปกครองบ้านเมืองทั้งสิ้น ในกระบวนศาสตร์ต่างๆ เหล่านั้นมีศาสตร์จตุรงค์อยู่ด้วย ดังความว่า “...เมืองอันใดก็รู้สิ้นอันรู้ศาสตร์...อ...อยูกต สกาจตุรงค์กระทำยนตร์ขี่ช้ าง...คล้องช้างเป็นพฤฒิบาศศาสตร์ก็...นับตวงถ้วยไซร้ยังมากกลา...” นับเป็นพยานหลักฐานเอกสารชิ้นแรกที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของหมากรุกไทยเรา และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙-๑๔ กรมศิลปากรได้ทำการปรับปรุงขุดแต่งและบูรณะโบราณสถาน เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เจ้าหน้าที่ได้ขุดพบตัวหมากรุกทำด้วยดินเผาเคลือบ มีทั้งสีขาวหม่น สีเขียวมะกอกและสีน้ำตาลแก่ ส่วนมากพบตามบริเวณอรัญญิก สถานที่อยู่อาศัยของพ ระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี และในระยะต่อมาไม่นาน คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ชาวล้านนาบ้านพี่เมืองน้องทางตอนเหนือของสุโขทัย ก็ได้ผลิตลูกหมากรุกเช่นเดียวกับช่างปั้นชาวสุโขทัย คือ ชุดหมากรุกเคลือบสีเขียวมะกอก สีขาวหม่น บางตัวเป็นลายสีดำปะปน ปัจจุบันเก็บอยู่ตามบ้านผู้สะสมเครื่องเคลือบโบราณของไทยหลายราย




เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องปั้นดินเผาโบราณรายหนึ่ง ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่บ้านผู้สะสมของเก่ารายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะรูปร่างคล้ายตัวหมากรุก เขาเชื่อว่าเป็นตัวหมากรุกที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นหลักฐานใหม่ที่ต้องสอบค้นกันต่อไป เพราะถ้าหากโบราณวัตถุ เครื่องเคลือบดังกล่าว เป็นลูกหมากรุกจริง ก็จะเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยในประเทศเราเล่นหมาก รุกกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ แล้ว เพราะแหล่งเตาเผาเครื่องเคลือบที่อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์นั้น ผลิตกันอยู่ในช่วงเวลานั้น ผู้ศึกษาสนใจเรื่องเครื่องถ้วยชามในอดีตบางคนเชื่อว่า เครื่องสังคโลก ผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยในระยะแรกๆ ของคนแคว้นสุโขทัยอาจรับกรรมวิธีขั้นตอนการผลิตไปจากที่นี่ หากไม่ได้นำติดตัวมาจากแหล่งอพยพเดิม (ผู้เขียนได้เห็นภาพถ่ายรูปหมากรุกดังกล่าวนี้ แต่เป็นภาพที่มองไม่ชัด เพราะเป็นภา พถ่ายนอกตู้เก็บวัตถุค่อนข้างไกล จึงไม่อาจยืนยันได้ว่าเป็นลูกหมากรุก และผลิตจากเตาบ้านกรวดหรือไม่ แต่เห็นว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรจะได้ศึกษาข้อเท็จจริง จึงนำมาเสนอไว้เพื่อผู้สนใจจะได้ช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบต่อไป) เหล่านี้เป็นข้อมูลทางโบราณวัตถุที่พบเป็นรูปธรรม มองเห็นได้ดี จับต้องได้ และพิสูจน์ได้ในวิถีแห่งหมากรุกไทย



จากข้อมูลพยานหลักฐานทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็พอมองเห็นหรือได้ร่องรอยว่า คนไทยเรานั้นเริ่มเล่นหมากรุกกันมาแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดย รับมาจากการเล่นเกมที่เรียกว่าจตุรงค์ ซึ่งถ้าไม่ได้รับมาจากอินเดียโดยตรง ก็คงจะผ่านมาทางศรีลังกาหรือประเทศพม่า เพื่อนบ้านที่นับถือพุทธศาสนานิกายหินยานด้วยกัน และผู้ที่นำจตุรงค์เข้ามาในแคว้นสุโขทัยนั้นน่าจะเป็นพระสงฆ์ อาจเป็นสงฆ์ไทยกลุ่มพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามนี ผู้จาริกไปศึกษาพระพุทธศาสนาเพิ่มเติมที่ลังกา และอินเดียใต้ ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือไม่ก็พระสงฆ์จากศรีลังกาหรือพม่า ที่เดินท างติดต่อไปมาหาสู่กับพระสงฆ์ไทยมาตั้งแต่ระยะต้นๆ สมัยสุโขทัย เพราะพระสงฆ์ที่เข้ามาในอาณาจักรนี้นั้น ไม่ได้สอนพุทธศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้สอนศิลปะศาสตร์ความรู้แขนงต่างๆ สำหรับผู้ปกครองบ้านเมือง อันมีศาสตร์ของจตุรงค์รวมอยู่ด้วย ดังเนื้อความในจารึกที่กล่าวถึง

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

มองการได้เปรียบให้เป็น


มองการได้เปรียบให้เป็น การขยายความได้เปรียบเบื้องต้น
การขยายความได้เปรียบ คือการทำให้ความได้เปรียบที่มีอยู่ มีความได้เปรียบมากขึ้น
-ดังนั้นจะต้องมีการได้เปรียบที่เกิดขึ้นแล้ว
-โดยการได้เปรียบดังกล่าว จะผ่านขั้นตอนการสร้าง และทำให้เกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มเกมมาแล้ว ถ้าไม่มีความได้เปรียบบางอย่างอยู่ก่อน ผู้เล่นจะไม่สามารถยายการได้เปรียบ และสร้างแต้มการเข้าโจมตีได้เลย อย่างมากก็เดินไปตามเกม และรอการพลาดของแต่ละฝ่ายเท่านั้น
โดยมีเป้าหมายการขยายความได้เปรียบดังนี้
*1.จำกัดตาเดิน และทางเดินอีกฝ่าย(ขัดขวางการขึ้นตัวทะลุแนว 4 ไม่ให้ขึ้นมาถึงแนวห้าได้)
*2.จำกัดอำนาจหมากฝ่ายตรงข้าม และทำให้น้อยลง
*3.กินตัว กำจัดหมาก
*4.ทำให้เขาเดินได้อย่างอึดอัดต้องระวังตัวตลอด
*5.หาทางให้ตัวใหญ่อยู่ในตำแหน่งได้เปรียบ หรืออย่างน้อยให้โครงหน้าเบี้ย(ในแง่ช่องทางขึ้นตัวใหญ่)ได้เปรียบไว้ก่อน
*ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก (ถ้าวางแผนตามเป้าหมาย ก็น่าจะปลอดภัยได้)

-ผู้ชอบหมากแบบตั้งรับ มักเน้น ข้อ 1-2เป็นเรื่องสำคัญ
-ผู้ชอบแบบรุกจัดทำจัด มักเน้น ข้อ 3-4 เป็นเรื่องสำคัญ แต่เขาก็ยังมองความปลอดภัยเป็นหลักก่อนเสมอ
-ส่วนข้อ 5 คือเป้าหมายในใจของทั้งสองวิธี
-----------------------------------------------------------------------------
มาหัดมองการได้เปรียบเสียเปรียบกันก่อนนะครับ หัดดูและคิดทั้งมุมมองฝ่ายขาวและดำ

-สองภาพนี้ถ้าท่านเป็นฝ่ายขาว ท่านมองจากฝ่ายท่าน การได้เปรียบเสียเปรียบต่อดำเป็นอย่างไร ตำแหน่งไหนได้เปรียบหรือจะได้เปรียบ ตำแหน่งไหนเสียเปรียบหรือจะเสียเปรียบ
-จากทางด้านขาว ท่านมองฝ่ายดำจากตำแหน่งกลับด้าน มองตำแหน่งหมากเป็นอย่างไร
-จากนั้นให้ลองมาดูตำแหน่งจากมุมมองฝ่ายดำบ้าง ในรูปแบบเดียวกัน


-สองภาพนี้ก็ฝึกมองแบบเดียวกัน
-ถ้าท่านเป็นฝ่ายขาว ท่านมองจากฝ่ายท่าน การได้เปรียบเสียเปรียบต่อดำเป็นอย่างไร ตำแหน่งไหนได้เปรียบหรือจะได้เปรียบ ตำแหน่งไหนเสียเปรียบหรือจะเสียเปรียบ
-จากทางด้านขาว ท่านมองฝ่ายดำจากตำแหน่งกลับด้าน มองตำแหน่งหมากเป็นอย่างไร
-จากนั้นให้ลองมาดูตำแหน่งจากมุมมองฝ่ายดำบ้าง ในรูปแบบเดียวกัน
หมากตัวไหนควรเดิน ตัวไหนไม่ควรเดิน เพราะอะไร


-ใช้คำถามและแนวทางการประเมินตำแหน่งเช่นเดิม
ลองตอบกันก่อนครับ

ฝึกมองทั้งสองฝ่ายอีกภาพหนึ่ง

-ถ้าเราเป็นฝ่ายดำ
*เสียเปรียบ โคนสองตัวดูเหมือนเสียประสิทธิภาพการเดินไป เดินตัวยากเพราะหมากตัวใหญ่ฝ่ายขาวยึดตำแหน่งจ้องโจมตีอยู่
*มีช่องส่งตัวขึ้นมาได้น้อย ไม่หลากหลาย
*ได้เปรียบ เบี้ยสูง แต่ไม่ค่อยมีช่องส่งหมากตัวใหญ่ขึ้นมาช่วยโจมตี
*ภาพรวมเสียเปรียบมากกว่าได้เปรียบ
*ตัวไม่ควรเดินที่สุดคือ โคน จ6 ไม่ว่าจะไปตาไหนก็ตาม จนกว่าจะทำให้เบี้ย ฉ 5 มีความปลอดภัยเสียก่อน
-ถ้าเราเป็นฝ่ายขาว
*เสียเปรียบ ไม่ค่อยมี ตัวหมากเกาะกลุ่ม และป้องกันได้ดี ฝ่ายตรงข้าม(ดำ)มีแนวบุกได้ที่ ช่อง ช ญ ที่สะดวกที่สุด (แต่ไม่ง่ายนัก)
*ได้เปรียบ ม้ายึดตำแหน่งจ้องโจมตี ได้คลองเรือ จ และกดดันโคนอีกด้วย
*มีแนวทางที่คิดจะวางแผนโจมตีที่มากกว่า
*ตัวที่ไม่ควรเิดินมากที่สุดคือ เบี้ย ญ3

ดูหมากที่ซับซ้อนขึ้นครับ รูปนี้ ขาวจะเป็นฝ่ายได้เดินในตาต่อไป

-ใช้คำถามเดิมคือ แต่ละฝ่ายได้เปรียบอะไร/ที่ไหน เสียเปรียบอะไร/ที่ไหน ตัวไหนไม่ควรเดินมากที่สุด เอาแค่นี้ก่อนครับ ผู้เริ่มฝึกถ้ามองได้ บอกได้บ้าง ก็ถือว่าเก่งพอควรแล้วครับ
-ในความเห็นผม ทั้งสองฝ่ายได้เปรียบเสียเปรียบกันไม่มาก แต่ขาวได้เปรียบนิดๆ ตรงที่มีแนวทางการโจมตีมากกว่า โคนสองตัวเคลื่อนไหวได้คล่องกว่า และม้าขาวจ้องรุกฆาตอยู่ ดังนั้นทำให้ดำเดินได้อึดอัดกว่าขาว เพราะต้องระวังตัวตลอด ถ้าไม่แก้ไขรูปหมากและตำแหน่งยืน
-ถ้าฝ่ายขาวกำจัดตัวควรเดินมากที่สุดไปทีละตัว น่าจะมองตัวที่ควรเดินได้ในที่สุด
-จากการถอดของผู้รู้ ท่านบอกว่า ขาวสามารถเลือกเดิน โคน ง3-จ4 ต่อโคน หรือเลือกเดินเรือ ญ1 มากดคลอง จ หรือคลอง ง ก่อนก็ได้

รูปนี้ ดำจะเป็นฝ่ายได้เดินในตาต่อไป

-ใช้คำถามเดิมอีกแล้ว แต่ละฝ่ายได้เปรียบอะไร/ที่ไหน เสียเปรียบอะไร/ที่ไหน ตัวไหนไม่ควรเดินมากที่สุด
-ผมคิดว่า เป็นหมากระยะต้นต่อกลางของเกม ขาวได้เปรียบช่องทางขึ้นของโคน แต่ยังขึ้นได้ยากเพราะม้าครองตำแหน่งอยู่ เบี้ยดำ จ6 เป้นเบี้ยสำคัญของดำ ถ้าทำลายได้โดยขุนดำหนีไม่ออก(ใช้เรือยึดคลอง) จะทำให้ดำลำบากมาก แต่ถึงยังไม่ทำลาย ดำก็เดินได้ยากกว่าขาวเล็กน้อย(เสียเปรียบ)
-แต่อนนี้ดำได้เดิน ท่านลองคิดว่าตัวไหนไม่ควรเดินมากที่สุด เรียงออกมาตามลำดับ 1 2 3 แล้วเลือกตัวเดินที่เหลือตัวไหนดีที่สุด ไม่เฉลยนะครับเพราะเกมอีกยาว
-การเลือกตัวเดินในตอนนี้เป็นแค่การฝึก หารูปแบบการโจมตี โดยเน้นแนวคิดให้เข้าใจหลักการ เป็นเป้าหมายสำคัญครับ
-ถ้าลืม ย้อนกลับไปอ่านทบทวนเป้าหมาย ซึ่งเขียนในช่วงต้นๆของบทนี้ กันก่อนนะครับ
-หัดคิดในแง่ขาวบ้างนะครับ ถ้าดำเดินมาในกรณีต่างๆที่ไม่เหมือนกัน และอาจไม่ตามที่เราคิด หรือเดินทิ้งแต้มแบบกะเราเผลอก็เจอบ่อยๆ ให้ระวังๆด้ว

ดำได้เดินก่อนเช่นเดิม ลองเป็นฝ่ายดำกันนะครับ จะเดินตัวไหนดีที่สุด ซึ่งถ้าขาวแก้ผิด ถึงจนเลยครับ 

-ฝึกดูทั่วกระดานก่อนนะครับ โดยคำถามเดิม...แต่ละฝ่ายได้เปรียบอะไร/ที่ไหน เสียเปรียบอะไร/ที่ไหน ตัวไหนไม่ควรเดินมากที่สุด ตัวไหนเดินไม่ได้
-แล้วตัวที่เหลือตัวไหนดีที่สุดในแต่ละส่วน แบ่งเป็น @ในสมรภูมิหน้าขุน @รอบกระดานไกลออกไป(แบ่งกระดานเป็นสี่ส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนหน้าขุนแต่ละฝ่าย อีกสองส่วนแบ่งส่วนละครึ่งตามแนวตั้ง ให้ดูทีละส่วนเพื่อดูเฉพาที่ แล้วต้องดูภาพรวมอีกครั้ง และควรดูรวมๆตรงรอยต่อแต่ละส่วนด้วยนะครับ เพื่อจะได้ไม่ซ้ำซ้อนและเบื่อเวลาเล่นจริง) @อาจมีสมรภูมิอื่นที่ตรึงกำลังหรือแฝงการโจมตีอยู่ ก็ดูด้วย
-อันนี้เพราะผมมองว่าเราไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ..สมาธิ ความอึด และความอดทนต่อการซ้ำๆคงมีคุณภาพไม่เท่าผู้เล่นชั้นนำ จึงต้องอาศัยวิธีการเข้าช่วยครับ
-จากนั้นเลือกดูว่าส่วนไหนน่าสนใจ จะเดินอะไรก่อนดี
-ลองๆฝึกดูครับ

รูปนี้ยืมมาจากหนังสือ"เซียนโค่นเซียน โดย สาธิต เกษตรชล หรือแดง ขอนแก่น" สนใจหนังสือสอบถามกันเอาเองนะครับ Thaibg มีบอกเบอร์โทรด้วย
รูปข้างล่างขาวเป็นฝ่ายเดินก่อนนะครับ

-คำถามคือ ขาวเดินตัวไหนดี โดยนำเป้าหมายของการใช้การได้เปรียบมาวางแผน
-อย่าลืมตอบคำถามที่เป็นหลักให้หมด ดูให้ครบสี่ส่วน แล้วจึงวางแผนเลือกตัวนะครับ
-บอกใบ้นิดหนึ่งให้ใช้หลักบีบตาเดิน การทำต่อเนื่อง รวมทั้งการชิงจังหวะและลำดับการเดินก่อนหลังที่เหมาะสม เพื่อเบียดในบั้นปลาย เป็นแนววางแผนเลือกตัวเดิน
-รูปนี้ผู้รู้ท่านบอกว่า ขาวควรเดินม้า ง2-ค4 พื่อจับเม็ดและป้องกันเม็ดเดินขึ้นมา ก 5 อีกทางหนึ่ง จะทำให้ดำเดินได้ลำบากเพราะ โดนควบคุมการเดินจากฝ่ายขาวโดยตลอด

มาถึงช่วงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงพอแยกแยะและ มองการได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละฝ่ายได้ถูกต้องขึ้น (ซึ่ง สุชาติ ชัยวิชิต กล่าวว่า บางท่านมองไม่แตก ทำให้เดินพลาดเพราะตัวเองเสียเปรียบกลับมองว่าได้เปรียบพอโจมตีเขาเลยแย่ พอตัวเองได้เปรียบกลับไม่กล้าทำอะไรเพราะคิดว่าตัวเองเสียเปรียบ)
สรุปเบื้องต้นก่อนว่าเมื่อได้เปรียบเบื้องต้นแล้ว ต้องขยายการได้เปรียบ
ส่วนการใช้ประโยชน์จากการได้เปรียบนั้น ขึ้นอยู่ว่า ได้เปรียบมากน้อยแค่ไหน
*ถ้าได้เปรียบมากๆ ทั้งจากตำแหน่ง และหรืออำนาจกำลังหมาก ให้หาทางรุกจน
*ถ้าได้เปรียบมาก ให้จัดกำลังเพิ่ม หรือจัดรูปแบบตำแหน่ง แล้วหาทางรุกจน
*ถ้าได้เปรียบแต่ไม่ชัดเจน ให้พยายามขยายความได้เปรียบให้มากขึ้น (ต่อสู้ และเบียด)
*ถ้าไม่แน่ใจ ให้พยายามสร้างความได้ปรียบเบื้องต้นให้ได้ อย่างน้อยหนึ่งจุดก่อน แล้วจึงจะขยายตัวต่อไปได้
*แต่ถ้าเสียเปรียบ ให้หาทางลดการได้เปรียบให้มากที่สุดก่อน อย่างน้อยให้กลับมาเสมอกันในทางได้เปรียบเสียเปรียบ แล้วจึงมองหาทางชนะทีหลัง
*ถือคติ เสมอดีกว่าแพ้ และอย่าฝืนเกินขีดจำกัดของรูปหมากในกระดาน


แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเบี้ยสูงหน้าเม็ด


วันนี้แอดมินก็มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องการเเก้เบี้ยสูงมาฝากผู้ที่ติดตาม สำหรับการเเก้เบี้ยสูงนั้น 
แอดมินขอเอาเกมส์จริงมาให้ศึกษาละกัน ฝั่งดำเป็นฝั่งแก้เบี้ยสูงหน้าเม็ด(แอดมินเองเเหละ555+)
นอกเรื่องมาเยอะละขอเข้า เนื้อหาเลยนะ ก็คือถ้าฝั่งสีขาวหนะว่าๆง่ายๆเดินเบี้ย ริมกระดานขึ้นมา
ต่ำแหน่งแบบนี้ ขอบอกตามตรงว่า โอกาสที่สีขาวจะแพ้สีดำมีสูงขึ้นมา ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา โอกาสที่
รูปหมากแบบนี้สีดำชนะ ตามสถิติที่เก็บมาอยู่ที่ 8/10 ซึ่งอีกสองเกมส์ที่เหลือก็ไม่ได้เเพ้อะไรหรอกเเต่ออกเสมอ เพราะบุกไม่ได้ จะเห็นได้ว่า 8/10นั้นถือว่าสูงมากดังนั้น สีขาวมีโอกาสสูงที่จะเเพ้

*แพ้อย่างไร?อันนี้หลายท่านคงเกิดคำถามใช้ไหม แอดมินจะตอบให้นะครับ
=ที่เเพ้เพราะว่าฝ่ายดำนั้นสามารถบุกได้หลากหลายรูปแบบ เช่นอย่างลูกศรที่ชี้หนะ สีฟ้า
คือเดินโคนไปตามทางนั้น ถ้าเราลองมาพิจารณาสีขาว(ฝั่งที่ทิ่มเบี้ยสูงหน้าเม็ด) จะพบว่าสีขาวเเม้จะได้เปรียบเม็ดเเลกเบี้ยเเต่ไม่สามารถขยับเเละขยายได้เลย อีกทั้งไม่สามารถบุกได้ถนัด
ถ้ายัง ไงอยากหาความรู้เพิ่มเติมก็ลองศึกษาจาก ตำราของ เซียนนกกระจิบ เล่ม1ก็(โฆษณาให้ด้วยเลย)
ก็มีเขียนไว้ค่อนข่างจะละเอียด
สรุปเเล้ว รูปหมากต่อให้ดีเพียงใด ก็ไม่ได้หมายความว่าจะชนะ100%มันอยู่ที่ฝีมือคนเล่นอยู่ดี 
เเต่ที่เราศึกษากันก็เพื่อเพิ่มโอกาสในการชนะเท่านั้นเอง 

ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ เเละถ้าไม่เป็นการรบกวน โปรดชี้เเนะด้วยครับ

ปล.ฆราวาสผู้ใฝ่รู้ 



แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้


หมากรุกไทย สามเบี้ยริมกระดาน(ยอมเป็นรองเพื่อทำทาง) 




อันนี้เป็นตัวอย่างเพื่อเป็นเเนวทางนะครับ ในกรณีที่เห็นคือดำยอมกินออกนอกซึ่งปกติเเล้วหมากรุกไทยจะไม่ค่อยยอมกินเบี้ยออกนอก(เว้นกินพรีอะนะ)เพราะว่าจะทำให้ กำลังหมากลดลงเเละปกติเราเชื่อกันว่าการกินเบี้ยเข้าในจะเป็นการรวมหมากเข้าสู่ศูนย์กลาง เเต่ในรูปนี้ที่ดำยอมกินออกนอกเพราะอยากทำทางหมากเพื่อบุกขึ้นไป ซึ่งขาวมากรณีให้เลือก3ทาง
1.เบี้ย ฉ4xช5(ดูกระดานกลับหัวอะนะ)
2.ม้ากิน
3.เบี้ย ญ4xช5

ทางที่1 เป็นการกินที่เสมอสำหรับหมากขาว เเต่ถ้าหมากขาวต้องการเอาเปรียบก็เลือกอีก2ทางกลัง
เเต่ว่า การที่หมากขาวได้เปรียบเบี้ยนอกเบี้ยในนั้นเเท้จริงๆเเล้ว หมากดำกลับได้เปรียบ
เพราะสามารถขยายตัวบุกได้อย่างง่ายดายเพราะได้เเท่นโคน ที่ตา ฉ5

อันนี้ก็เป็นอีกเเนวทางที่เพื่อนๆสามารถนำไปใช้ได้นะครับ
ถ้ามีข้อผิดพลาดใดขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย

จาก ฆราวาสผู้ใฝ่รู้

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

แก้เบี้ยคู่ริมนอกตำราEP.1
ขอบคุณภาพจากwww.lovemakrukthai.com

สำหรับบทความนี้ก็มีที่มาว่ามีเพื่อนๆทางบ้านถามเข้ามาว่าถ้าเจอเบี้ยคู่ริมเดินมาเเบบนี้ทำยังไงแก้ดี
มาเริ่มกันเลยนะครับ
สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบว่าเบี้ยคู่ริมเป็นแบบไหนแนะนำให้กดตรงนี้เลยครับ เบี้ยคู่ริม1 เบี้ยคู่ริม2

จากที่เปิดรูปหมากม้าโยงขวาเสร็จก็เดินมาดังนี้
1. บ ก3-ก4                               บ ค5xข4
2. ค ข3xข4                              ม็ ง6-ค5
3. ค ข4-ก3                              บ ข6-ข5



หมากดำทิ่มเบี้ย ข6-ข5มาเผื่อหวัง จะเดินมาที่ ข4เพื่อจะเเลก เบี้ย ค3 ซึ่งเป็นเบี้ยในกล่าวได้ง่ายๆคือจะเอาเบี้ยนอกในคืนมาก เเต่หมากขาวก็มีเเต้มเเก้ดังวิดีโอนี้ครับ

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

อีเลิร์นนิ่ง สอนการขึ้นม้าโยงขวา

อีเลิร์นนิ่ง สอนการขึ้นม้าโยงขวา

สวัสดีครับสำหรับบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการขึ้นหมากม้าโยงขวาซึ่งเป็นการสอนการขึ้นม้าโยงขวาอย่างไรให้ปลอดภัยใน11ตาเดินก่อนที่จะแปรขบวนรูปหมากต่างๆในตาที่12ซึ่งเพื่อนๆสามารถดาวน์โหลดไปนั่งศึกษาเองได้เลยครับ เพื่อนๆสามารถเปิดไฟล์เพื่อศึกษาได้หลายวิธีอาจใช้โปรแกรมเล่นเพลงเปิดก็ได้ เเต่แอดมินขอเเนะนำว่าใช้โปรแกรม KMP เปิดจะเเน่นอนที่สุด
ด้านในตัว อีเลิร์นนิ่งหลังจากที่เราล็อกอินเข้าไปจะเป็นเช่นนี้ครับ

ก็จะมีแถบให้เลือกมากมาย
1. คำเเนะนำ = ก็จะเเนะนำวิธีการใช้ต่างๆในอีเลิร์นนิ่งเเนะนำว่าอ่านก่อนนะ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ = อันนี้จะบอกว่าเราเรียนรู้เเล้วจะได้อะไร
3. เข้าสู่บทเรียน = ตรงนี้ก็จะสามารถเข้าสู้บทเรียนเพื่อเรียนได้ครับ
4. แบบฝึกหัด = หลังจากเราเข้าสู่บทเรียนเเละเรียนเสร็จเเล้วก็มาทำแบบฝึกหัดวัดคะเเนนได้เลยครับ
5. ผู้จัดทำ = ตรงนี้ก็จะบอกว่างานชิ้นนี้ถูกเขียนโดยผู้ใด
สำหรับอีเลิร์นนิ่งก็ดาวน์โหลดได้ตรงนี้ครับ

ฆราวาสผู้ใฝ่รู้


แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

การได้เปรียบเสียเปรียบ

การได้เปรียบ
-คือโครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ต่อการเดินของฝ่ายเรา ทำให้ฝ่ายเราเดินได้ง่าย มีรูปแบบการเดินหลากหลาย สามารถเดินได้สะดวก ตามใจต้องการ 
-คือโครงสร้างที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเดินได้ยาก อึดอัด หาวิธีและรูปแบบการเดินได้จำกัด และในท้ายที่สุดก็ถูกรุกจน

การเสียเปรียบ
-คือโครงสร้างที่ทำให้ฝ่ายตัวเองเดินได้บาก มีวิธีทางและหนทางเดินที่จำกัด เดินได้ยาก อึดอัด และในท้ายที่สุดก็ทิ้งเกม และถูกรุกจน
-ในทางตรงข้าม อีกฝ่าย กลับสามารถเดินได้สะดวกขึ้นลงได้ตามใจชอบ

ความหมายที่แคบลงของคำว่า"การได้เปรียบเสียเปรียบ"
-เป็นความหมาย แบบรูปธรรม จะค่อนข้างเห็นภาพพจน์ดีกว่า เหมาะกับการทำความเข้าใจของผู้เริ่มฝึกหัด แต่ผู้เล่นที่แก่กล้า อาจคิดว่า ดูแล้วแข็งๆ ไม่ยืดหยุ่นต่อการสร้างความใหม่เท่าที่ควร เอาไว้ขยายความเองก็แล้วกันครับ เพราะผมเน้นมือใหม่มากกว่า

*เป็นโครงสร้างที่ ยึดพื้นที่การเดินได้มากกว่า (มีพิสัยการเดินและตำแหน่งเดินมากกว่า) ถ้าเป็นพื้นที่และตำแหน่งเดินบริเวณกลางกระดานจะมีตุณค่ามากกว่าริมกระดาน

*เป็นโครงสร้างที่ ทำให้ฝ่ายเขาตั้งรูปตั้งหมากตามต้องการไม่ได้ แต่เราทำได้สะดวก

*เป็นโครงสร้างที่ ขัดขวางการวางตำแหน่งหมากตัวใหญ่ของอีกฝ่าย แต่ไม่ขัดขวางการวางจำแหน่งของเรา และยังอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายเราอีกต่างหาก

*เป็นโครงสร้างที่ กดดันการเคลื่อนไหว เพื่อบุกขึ้นมาของอีกฝ่าย(ป้องกันการขึ้นตัว ขยายตัว) แต่ฝ่ายเราบุกและขยายตัวได้ง่ายกว่า

*เป็นโครงสร้างที่ ปกป้อง คุ้มครองขุนของเรา โดยขุนสามารถหลบให้ปลอดภัย และเมื่อถึงเวลาอันควร ยังสามารถใช้ขุนได้ง่ายด้วย

*เป็นโครงสร้างที่ กดดันขุนของฝ่ายตรงข้าม และมีแนวโน้มจะรุก หรือรุกจนได้ง่าย

**เอาแบบเห็นภาพพจน์ที่สุด มันคือโครงสร้างหน้าเบี้ย+ตำแหน่งตัวใหญ่+แนวทางการขึ้นตัวขยายตัวเพื่อโจมตี**

ลักษณะที่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ
-มารู้จักรูปแบบที่ถือว่าได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เพื่อเป็นพื้นฐานการเดินให้ได้ผล ในเวลาข้างหน้านะครับ พิจารณาจาก
* คิดจากจำนวนตัวหมาก และ/หรือกำลังหมากโดยรวมซึ่งบางครั้งจำนวนตัวน้อยกว่า แต่กำลังการรุกรานกลับอาจมากกว่าก็ได้ 
*โครงสร้างหน้าเบี้ย
*ตำแหน่งหมากใหญ่
*ที่อยู่ขุน
*วิธีการเดิน(รูปแบบการเดิน และกลยุทธ)
*จังหวะ และลำดับการเดินตัวก่อนหลัง ที่ถูกต้อง
*รูปแบบที่ครงกับกลยุทธที่มีแนวปฏิบัติแน่นอน(รูปหมาก กลหมาก)
--------------------------------------------------------------------------------
กำลังหมากที่เดินได้
*อันนี้ก็ง่ายๆคือให้ดูจำนวนหมากและดูกำลังหมาก ที่สามารถเดินได้และปฎิบัติการ เพื่อการรุกรานได้ จะถือว่าได้เปรียบคือ
1.มีจำนวนตัวหมาก ที่ทำงานได้มากกว่า
2.มีกำลังหมากเพื่อรุกรานมากกว่า คือนับกำลังตามค่าของหมากโดยรวมนั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------------
โครงสร้างหน้าเบี้ยที่ดี
*เบี้ยเก้า
*เบี้ยคู่(แนวนอน)..เป็นความหมายของเบี้ยเทียมไปในตัว
*เบี้ยผูก
*เบี้ยนอกเบี้ยใน
*เบี้ยสูง ไล่ตามตำแหน่งที่มีคุณค่าได้เปรียบจากมากไปน้อยดังนี้ สูงหน้าโคน>สูงหน้าเม็ด>สูงหน้าขุน>สูงหน้าม้า>สูงหน้าเรือหรือสูงริม
*สูงริมมักไม่นิยมกัน ยกเว้นมีจุดมุ่งหมายที่ดีกว่าคำว่าฝังเบี้ยสูง


แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้


ประเภทของม้าโยงซ้าย

ขอบคุณภาพจาก www.lovemakrukthai.com

สำหรับบทความนี้นะครับ เราก็จะมาพูดกันถึงเรื่องประเภทของม้าซ้ายว่าม้าซ้ายแบ่งเป็นกี่ประเภท
 ม้าซ้ายคือรูปหมากที่ไว้ใช้สำหรับการบุกโดยเฉพาะ ไม่ค่อยเน้นการตั้งรับสักเท่าไหร่ จนมีบางท่านเปรียบว่า ม้าซ้ายนั้นเหมือนตอนที่พระเจ้าตากตีเมืองจันทบุรี ที่ตอนทุบหม้อข้าว ถ้าตีเมืองไม่เเตกก็ตาย อะไรทำนองนั้นเลย 
สำหรับม้าโยงซ้ายนั้นเเบ่งหลักก็มีอยู่สามรูปแบบ

1.ม้าโยงซ้ายโคนแยกร่าง
รูปแบบนี้ดูจะเหมือนกึ่งรับกึ่งบุกของม้าซ้ายที่สุดเเล้วเเต่ยังไงก็ดีม้าซ้ายก็ยังเน้นบุกกว่ารับเสมอการที่เอาโคนมาไว้อีกข้าง ฉ2 มันทำให้การบุกมันไม่ต่อเนื่อง เช่นบางที่พอบุกไปได้สักพัก ก็เกิดปัญหาหมากยังตามมาไม่ทันเพื่อบุกหรือไม่ก็ในระหว่างบุกก็จะมีหมากที่ยังไม่ได้ใช้ ทำให้ใช้งานหมากได้ไม่เต็มที่

2.ม้าโยงซ้ายโคนเทียม
รูปแบบนี้ก็เน้นใช้ตัวใหญ่บุกเช่นกันเหมือนรูปแบบที่สามสังเกตได้จากการเอาหมากตัวใหญ่มากองรวมกันหมดเพื่อให้ง่ายต่อการบุกรวดเดียวจบ

3.ม้าโยงซ้ายโคนผูก
 รูปแบบนี้จะเน้นการบุกโดยใช้หมากตัวใหญ่เป็นหลักเพื่อบุกคู่ต่อสู้

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

10วิธีเตรียมพร้อมก่อนเเข่งหมากรุก

1. อย่านอนดึกเพราะการนอนดึกจะทำให้เมื่อตื่นขึ้นมาเเล้วสมองจะเบลอคิดอะไรไม่ออก
2. กินอาหารให้ครบ5หมู่ จะได้ช่วยเพิ่มสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองให้ครบถ่วน
3. อย่าตื่นเต้นให้มากจนเกินไป ควรหาอะไรที่ผ่อนคลายทำเช่นฟังเพลง หรือไปนั่งชิวๆที่ไหนสักที่
4. ก่อน1วันก่อนเเข่งไม่ต้องซ้อมเเล้วหมากรุกเพราะมันอาจจะทำให้เราเกิดความคิดที่สับสนได้
5.หากคุณไม่ได้เเข่งออนไลน์(หมายถึงจะไปเเข่งกระดานจริง) ควรหยุดเล่นออนไลน์เพราะว่าการเล่นออนไลน์ไม่เหมือนกับเล่นกระดานจริง เดียวมันจะสับสน นะ
6. อย่าคาดหวังอะไรมากจากการเเข่งเเต่ก็สู้อย่างเต็มที่ (ถ้าคุณไม่ใช้เต็งเเชมป์อะไรประมาณนี้อะนะ)
7. งดกินเครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เราเบลอคิดอะไรไม่ออกเพลอๆลืมตื่นไปเเข่ง
8. นั่งสมาธิสักครึ่ง ชม ช่วยทำให้จิตใจสงบขึ้นมาได้บ้าง
9. ควรศึกษาข้อมูลสนามเเข่งให้เรียบร้อย(ไม่ใช่ว่าไปหลงนะ)
10. อย่าหักโหมกับการซ้อมมากเกินไป

ตื่นนอน
ตามหลักการของนักปลุกพลังระดับโลกนะครับ  เขาแนะนำให้ตื่นนอนมามาตะโกนดังๆ กับตัวเอง             "  เราทำได้  เราทำได้  เราทำได้   " ( ใช้คำอื่นก็ได้ตามศรัทธา เช่น  หนูทำได้ สู้เพื่อแม่  55 )   มันจะเป็นการฝังโปรแกรมเข้าไปในจิตใจลงสู่สามัญสำนึกของเราให้มีกำลังใจ และพลังในการแข่งครับ   
( ควรจะทำหลายๆ วันก่อนแข่ง )    อย่าลืมฝากบอกคนที่บ้านช่วยปลุกด้วยเผื่อตื่นสาย  บอกให้เพื่อนโทรหาด้วยก็ดี เพื่อความปลอดภัย
อาหารเช้า
นโปเลียนกล่าวไว้ว่า กองทัพเดินด้วยท้อง   ในการแข่งอาหารในเมื้อเช้าก็สำคัญมากเช่นกัน   ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันว่าอาหารเช้าเป็นอาหารมื้อแรกที่สำคัญที่สุดของวัน อาหารเช้าจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า มีสมาธิทั้งในการเรียนและการทำงาน  โดยหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เค็ม ด้วยนะครับเพราะคงไม่มีใครอยากเข้าห้องน้ำตอนแข่ง
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เค็ม เผ็ด และไม่ควรทานเยอะเกิน  น้ำก็ควรดื่มให้น้อย เน้นอาการที่ย่อยง่ายทานง่ายนะครับ
ก่อนออกจากบ้าน
อย่าลืม กราบไหว้ ขอพร จากพ่อแม่ ก่อนออกจากบ้านด้วยนะครับ   เพื่อความเป็นศิริมงคล
การเดินทาง
ต้องหาข้อมูลให้ชัดเจน  และต้องแน่ใจว่าเขานัดแข่งที่ใด ห้องไหน  ถ้าไม่แน่ใจให้เดินทาง ไปดูล่วงหน้าก่อน   ควรเดินทางไปถึงล่วงหน้าประมาณสัก 15-30 นาที จะทำให้เรามีสมาธิ และมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น แต่ถ้าไปถึงล่วงหน้าหลายชั่วโมง ก็ดีแต่อาจจะทำให้คุณรอนานอาจเกิดความหงุดหงิด เสียสมาธิได้

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

วิธีอ่านสัญลักษณ์ในหมากรุกไทย


วิธีอ่านสัญลักษณ์ในหมากรุกไทย





สำหรับเพื่อนที่ยังไม่มีความรู้เรื่องของการอ่านสัญลักษณ์ในหมากรุกไทย แอดมินก็ขอเเนะนำให้ดูวิดีโอนี้เลยนะครับ วิดีโอนี้ก็จะสอนเรื่องของ ตาราง สัญลักษณ์ เเละ ตัวอย่างจริงนะครับ


แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้


ทำไมคู่ต่อสู้ถึงเล่นม้าโยงขวาก้ามปูได้

ภาพจากwww.aecnews.co.th


สำหรับบทความนี้นะครับเราก็จะมาเรียนรู้กันว่าทำไม? เราถึงเจอคู่ต่อสู้เล่นม้าโยงขวาก้ามปูได้ดังรูป
ซึ่งสาเหตุนั้นแอดมินขอเเยกออกเป็น2กรณีคือ 
1.ไม่ทิ่มสกัดเบี้ย
2.คู่ต่อสู้เดินเบี้ยริมตั้งเเต่ต้นๆของการเปิดหมาก

เรามาดูกรณีเเรกเลยนะครับ 1.ไม่ทิ่มสกัดเบี้ย


จากที่เราเห็น หมากดำเดินเบี้ย ค6-ค5 ในตานี้เราควรสกัดเบี้ยด้วยเบี้ย ข3-ข4 (ม้าขวา)เพื่อไม่ให้หมากดำนั้นเดิน เบี้ย ก6-ก5เป็นม้าโยงขวาก้ามปู วิธีนี้เป็นวิธีการป้องกันได้ดีมากครับ ดังรูปล่าง


เรามาดูกรณีที่2กันมั่งครับคือ คู่ต่อสู้เดินเบี้ยริมตั้งเเต่ต้นๆของการเปิดหมาก
ในกรณีนี้อาจพูดได้ว่าคู่ต่อสู่อยากเล่นก้ามปูมากถึงกับยอมเปิดเบี้ยริมตั้งเเต่ต้น


ถ้าเป็นแบบนี้เห็นทีก็ต้องแก้ไปตามเกมส์ครับ หรือไม่ก็เดินรูปหมากที่เหมาะสมกับการเเก้

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

ม้าโยงขวาแบบไหนเหมาะกับเบี้ยคู่ริมที่สุด

สำหรับบทความนี้นะครับเราก็จะมาพูดกันถึงเรื่องม้าโยงขวาแบบไหนเหมาะกับเบี้ยคู่ริมที่สุดซึ่งม้าโยงขวาในปัจจุบันที่นิยมใช้กัน ก็มีอยู่สองแบบได้แก้ ม้าโยงขวาโคนเทียมเม็ด กับม้าโยงขวาโคนผูกเม็ด
ซึ่งบทความนี้เราจะมาสิเคราะห์กันว่า สองแบบนี้แบบไหนที่จะเหมาะสมที่จะใช้เบี้ยคู่ริมมากที่สุดครับสำหรับท่านที่ยังไม่รู้จักเบี้ยคู่ริมนั้นดูรูปด่านล่างได้เลยครับ
เบี้ยคู่ริมคือหนึ่งในรูปการแปรขบวนหนึ่งของหมากม้าโยงขวา ซึ่งปกติจะแปรขบวนกันตาที่11 จุดประสงค์หลักที่สำคัญของการเดินเบี้ยคู่ริมคือจะปูเบี้ยคู่ไปเพื่อเเทงม้าตา ข5 เพื่อให้ม้ากระเด็นไปที่อื่นไม่สามารถยืนเป็นม้าโยงขวาได้บทความนี้เป็นการเทียบนะครับว่ารูปไหนจะเหมาะที่สุดดังนั้นอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเดินมากนักเเต่จะเเสดงให้ดูคร่าวๆ

     ขาว                                             ดำ
11 บ ก3-ก4                            บ ค5xข4
12 ค ข3xข4                           ม็ ง6-ค5
13 ค ข4-ก3                           บ ช5xฉ4
14 บ ช3xฉ4                          บ ง5xจ4
15 บ ง3xจ4                           ม ค6-ก5
16 ค ก3-ข2                           บ ฉ6-ฉ5
17 บ จ4-จ5                           ค ค7-ค6
18 ค ข2-ข3                          ค ค6-ง5


สุดท้ายเเล้วจะออกมาเเบบนี้ถ้าเราพิจารณาดูจะเห็นชัดเจนว่าสีขาวกำลังเป็นรองอยู่เพราะ ขึ้นบุกไม่ได้เลย เเต่สีดำบุกเอาบุกเอาเเละที่สำคัญเพราะเบี้ย ค3 ขาดนี่เเหละทีทำให้สู้ลำบาก เพราะฉะนั้นอาจพูดได้เลยว่าม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดขุนไขว้ในไม่เหมาะกับเบี้ยคู่ริม
เราลองมาดูม้าโยงขวา โคนผูกเม็ดขุนไขว้นอกดู ก็ดีขึ้นครับเบี้ย ค3ไม่ได้ขาด เเต่ก็ยังเอาหมากออกมาสู้ได้ไม่หมดเพราะว่า โคนตา ฉ2ขึ้นไปต่อยตีกับสีดำไม่ได้ ก็สรุปครับ ก็ยังไม่เหมาะ

เเล้วอะไรหละถึงจะเหมาะ ?

สุดท้ายครับม้าโยงขวาโคนเทียมเม็ดเพราะว่าสามารถนำโคนจากตา จ2มารับช่วงต่อได้ทันการทำให้รูปหมากที่ออกมามันดูสูสีเเละอยู่ที่ว่าใครจะมีฝีมือมากกว่ากัน

*เกมส์นี้เป็นเกมส์ตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์จาก เว็บ www.playok.com
ระหว่างท่าน thanatos กับท่าน nokkum1



แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

ม้าโยงขวาแบบไหนเหมาะกับเบี้ยคู่ริมที่สุดEP.2


เมื่อบทความที่เเล้วเรามาพูดถึงเรื่อง ม้าโยงขวาแบบไหนเหมาะกับเบี้ยคู่ริมที่สุด 
ถ้าใครยังไม่ได้อ่านคลิกเลยครับ>>>ม้าโยงขวาแบบไหนเหมาะกับเบี้ยคู่ริมที่สุดEP.1
เราได้เปรียบเทียบว่ารูปไหนเหมาะที่สุด(ของสีขาวนะ)
เเต่บทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบของสีดำดูบ้างว่ารูปไหนกันเเน่ที่เหมาะเเก่การรับเบี้ยคู่ริม

มาเริ่มกันเลยนะครับ ส่วนพวกวิธีการเดินจะขอข้ามเพราะพูดไปในบทความที่เเล้ว คร่าวๆเเล้วครับ

1.สีดำใช้ม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดขุนวังใน
ผลสุดท้าย
จะเห็นได้ว่าขุนดำค่อนข้างจะอยู่กลางสมรภมูมิการรบ เเต่ถ้าเป็นรูปนี้ที่ขุนขาวอยู่วังใน (จ2)ก็ถือว่าได้เปรียบก็จริงเเต่สีดำยังบุกได้ไม่เต็มที่เพราะเเทนที่จะซ้อนเรือ คลอง ง8 7 อะไรเเบบนี้ก็ทำไม่ได้เพราะมีขุนอยู่ เพราะฉะนั้น นิยามได้ว่า ขุนวังในไม่เหมาะที่จะเป็นสีดำครับ

2.สีดำใช้ม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดขุนวังนอก
ผลสุดท้าย
จะเห็นได้ว่าสีดำพร้อมเต็มอัตราศึกในการบุกโจมตีเพราะสามารถเรียกเรือมาที่ ง8เพื่อลุยได้เลย
เเละขุนดำก็ปลอดภัยอยู่หลังเบี้ย ค่อนข้างจะมั่นคง

3.สีดำใช้ม้าโยงขวาโคนเทียมเม็ด
ผลสุดท้าย
จะเหมือนกับม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดขุนวังนอกคือพร้อมลุยครับ

นิยาม
ฝั่งสีขาว
ถ้าสีขาวขึ้นม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดขุนวังใน จะไม่เล่นเบี้ยคู่ริมเพราะเป็นรอง
ถ้าสีขาวขึ้นม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดขุนวังนอก ก็จะไม่เล่นเบี้ยคู่ริมเพราะ โคน ฉ2ไปช่วยเพื่อนไม่ทัน
ถ้าสีขาวขึ้นม้าโยงขวาโคนเทียมเม็ด จะเล่นเบี้ยคู่ริมได้เพราะทุกตัวพร้อมใช้งาน

ฝั่งสีดำ
ถ้าสีดำขึ้นม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดขุนวังในจะรับเบี้ยคู่ริมไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะว่าขุนมันบังตาเรือ
ู่ถ้าสีดำขึ้นม้าโยงขาวโคนผูกเม็ดขุนวังนอกจะรับเบี้ยคู่ริมได้ดีเพราะขุนไม่ได้เป็นปัญหาเเล้ว
ถ้าสีดำขึ้นม้าโยงขวาโคนเทียมเม็ดจะรับม้าโยงขวาได้ดีเพราะขุนอยู่นอกไม่ได้เป็นปัญหา

ถ้าคุณเป็นสีขาว
ถ้าคู่ต่อสู้ขึ้น ขุนวังใน เเล้วคุณเป็นโคนเทียม คุณเล่นได้เลย

ถ้าคุณเป็นสีดำ
ถ้าคู่ต่อสู้ขึ้นม้าโยงขวาโคนผูกเม็ดมาคุณมั่นใจได้เลยว่าเขาไม่เล่นเบี้ยคู่ริมมาเเน่นอน

*เกมส์นี้เป็นเกมส์ตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์จาก เว็บ www.playok.com
ระหว่างท่าน  nokkum1 กับท่าน kadia

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้

เหตุผลที่ต้องเดินม้ารับเบี้ยหน้าเม็ด

สำหรับบทความนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่อง ว่าทำไมเบี้ยหน้าเม็ดของสีขาวเปิดขึ้นมาเเล้วเรา(กรณีเราเป็นดำนะ) ต้องเดินม้ามารับที่หน้าขุน ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าถ้าคุณไม่ได้คิดจะเล่นม้าเทียมเม็ดซ้ายหรือม้าซ้าย หรือกระบอกคู่(อะไรที่มันซ้ายๆอะนะ)ก็ไม่จำเป็นต้องเดินม้ามารับก็ได้เดินเบี้ยอะไรไปก็ได้ว่างั้นนะเเต่ถ้าคุณเล่นม้าขวาก็อย่าพลาดเพราะอาจจะเป็นบ่อเกิดของการเปิดรูปหมากที่ย่อยลงไปเเละถ้าเดินไม่เป๊ะจริงอาจจะเป็นรองได้ 

ตัวอย่างที่1สมมติว่าเดินโคน
       
              ขาว                                    ดำ
1. บ จ3-จ4                           ค ฉ8-ฉ7 ไม่เดินม้ามาที่ จ7เเต่กลับเดินโคน
2. บ ฉ3-ฉ4                          ม ช8-จ7
3. บ ญ3-ญ4 โดนคู่ต่อสู้เล่นก้ามปูซะงั้น มันทำให้ออกนอกรูปแบบไป

หรือถ้าตาที่2 ดำไม่เดินม้า เเต่เดินเบี้ยสกัดจะเป็นดังนี้

2. บ ฉ3-ฉ4                           บ ช6-ช5
3. บ ฉ4-ฉ5 เบี้ยสูง                บ ญ6-ญ5
4. ค ฉ1-ช2 ผูกเรือ                ม ช8-จ7
5. บ ช3-ช4

สุดท้ายเเล้วขาวจะหมากเป๋ไปนิดหน่อยเเต่โดยรวมเเล้วมีเบี้ยสูงหน้าโคนซึ่งกักโคน ฉ7ไว้ไม่ให้เดินได้
เพราะฉะนั้นถ้าตาที่สองหมากดำเดินม้ามารับ จะตัดปัญหาวุ่นวายทั้งหมดนี้ได้เลยเเละสามารถทิ่มเบี้ย ช5มาสกัดเบี้ย ฉ4 โดยที่ไม่ต้องโดยเบี้ยสูงแบบในตัวอย่าง 

แสดงความคิดเห็น

แบ่งปันสิ่งนี้